Language :

สมมุติฐานว่าด้วยสาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน

khjuk

www.coconut-virgin.com

 

         จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ นักวิจัยด้านการแพทย์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคสะเก็ดเงินอย่างแน่ชัด แม้ว่าจะมีนักวิจัยจำนวนมาก ต่างก็กำลังหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคสะเก็ดเงิน และก็ยังเชื่อว่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และอาหารไม่มีส่วนทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด เท่าที่ผู้เขียนประมวลได้ มีสมมุติฐานที่มีผู้เสนอว่าเป็นสาเหตุของโรคสะเก็ดเงินดังต่อไปนี้

         1. พันธุกรรม: มีการศึกษาพบว่า มียีนหลายตัวที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสะเก็ดเงิน จากการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะโรคสะเก็ดเงิน พบว่าถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคสะเก็ดเงิน ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงินร้อยละ 14 แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงินถึงร้อยละ 40 (ไวยาวัจมัย,2555)

        2. เซลล์ผิวหนังแก่เร็วอย่างผิดปกติ: มีรายงานว่า อาการของโรคสะเก็ดเงินเกิดเพราะมีการกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเจริญเร็วกว่าปกติจากที่ใช้เวลา 28-30 วันในการเจริญเต็มที่และหลุดออกไป แต่ในผู้ป่วยสะเก็ดเงินจะลดลงเหลือเพียง 2-3 วัน เซลล์เหล่านี้ไม่สามารถสลัดออกได้ดังเช่นเซลล์อื่นๆ จึงเกิดการสะสมเป็นแผ่นหนา เป็นเกล็ด มีลักาณะเป็นผื่นแดง

        3. เป็นโรคอ้วนลงพุง: มีรายงานว่า ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มักมีอาการของโรคอ้วนลงพุงร่วมอยู่ด้วย ไวยาวัจมัย (2555) ได้กำหนดลักษณะเพื่อการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสะเก็ดเงิน หากพบความผิดปกติมากกว่า 3 ใน 4 ข้อดังต่อไปนี้
- มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง
- มีความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มม. หรือได้รับยารักษาความดันโลหิต
- มีระดับไขมันมากกว่า 150 มก./ดล. หรือเป็นผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง และได้รับยาลดไขมัน
- มีระดับ HDL ต่ำกว่า 40 มก./ดล. ในผู้ชาย และต่ำกว่า 50 มก./ดล. ในผู้หญิง หรือเป็นผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และได้รับยาลดคลอเรสเตอรอล

        4. เป็นโรคภูมิแพ้: เป็นปฎิกริยาของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแปลกปลอมภายนอก เซลล์เม็ดเลือดขาวยังทำหน้าที่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมได้ตามปกติ แต่จะไวและตอบสนองรุนแรงเป็นพิเศษต่อสิ่งกระตุ้นบางอย่าง เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ขนสุนัข หรือยาบางชนิด การตอบสนองที่ไวและรุนแรงผิดปกติ มีผลต่อเนื้อเยื่อร่างกาย จนเกิดอาการที่เรียกว่า “แพ้” เช่น เกิดอาการจาม คัดจมูก คันจมูก คันตา น้ำตาไหล หรือโรคหืดเมื่อสัมผัสฝุ่นละออง อาการของโรคภูมิแพ้ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ

- ระยะที่ไม่แสดงอาการแพ้ออกมาชัดเจน: ร่างกายเราสัมผัส สูดดม หรือรับประทานสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ภูมิคุ้มกันของเราเริ่มทำงาน โดยคิดว่าสิ่งแปลกปลอมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้เป้นอันตราย ร่างกายจึงผลิตสารภูมิคุ้มกันที่มีชื่อว่า immunoglobulin-E (IGE) เข้าจัดการ แต่ยังไม่เกิดอาการ

- ระยะแสดงอาการ: เมื่อร่างกายสัมผัส สูดดม หรือรับประทานสารก่อภูมิแพ้เข้าไปเป็นครั้งที่ 2 ร่างกายจะผลิต IGE จำนวนมากเพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้ออกให้หมด สารแอนตีบอดี (antibody) จะกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดมาสต์เซลล์ (mast cell) ปล่อยสารเคมีหลายขนิด รวมทั้งฮิสตามีน (histamine) ทำให้เกิดการอักเสบ คันบวม แดง

        5. เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง: เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมคุ้มกัน ที่โดยปกติทำหน้าที่ต่อต้าน และทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญคือ เซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องร่างกายไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำร้ายเนื้อเยื่อหรืออวัยวะของร่างกาย แต่เซลล์เม็ดเลือดขาวของคนที่เป็นโรคภูมิต้านตนเอง สูญเสียความทรงจำ ไม่สามารถแยกแยะเนื้อเยื่อตัวเองออกจากสิ่งแปลกปลอม หลงผิด เข้าโจมตี และทำร้ายเนื้อเยื่อตนเอง จนทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนโครงสร้างของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะถูกทำลายเสียหาย และทำงานไม่ได้ในที่สุด ซึ่งต่างจากโรคภูมิแพ้ ที่มีการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมไวเกินกว่าปกติ เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบขึ้น แต่จะไม่มีการต่อต้านเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของตนเอง

        ไม่ว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายจะวิเคราะห์ผิด หรือทำงานเกินความพอดี ถ้าเกิดขึ้นที่อวัยวะส่วนไหน จะเรียกชื่อตามอวัยวะของโรคส่วนนั้น เช่น โรคสะเก็ดเงิน (เป็นที่ผิวหนัง) รูมาตอยด์ (เป็นที่ข้อ) SLE หรือโรคพุ่มพวง (อาการแสดงได้ในหลายระบบ เช่น มีผื่น ผมร่วง ปวดข้อ แผลในปาก) โรคหอบหืด (เป็นที่ระบบหายใจ) และลมพิษ (เป็นที่ผิวหนัง)

        6. ความไม่สมดุลระหว่างออกซิแดนต์และแอนตีออกซิแดนต์: Pujari,et al. (2010) ได้เสนอสมมุติฐานว่า โรคสะเก็ดเงินเกิดจากความไม่สมดุลของออกซิแดนต์ และแอนตีออกซิแดนต์ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จากการเติมออกซิเจน (oxidative stress) โดยได้วัดระดับของออกซิแดนต์ และแอนตีออกซิแดนต์ ที่มีผลต่อการเกิดความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน พบว่ามีออกซิแดนต์เพิ่มขึ้นในซีรัมของเลือดของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ผลการทดลองของ Yildirim,et al. (2003) ได้สนับสนุนสมมุติฐานว่า โรคสะเก็ดเงินเกิดจากสมดุลที่เปลี่ยนไปของออกซิแดนต์และแอนตีออกซิแดนต์

 

ดเด่

 

ที่มา:น้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษาโรคสะเก็ดเงินได้อย่างไร ? หน้า 2 - 5

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

- น้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษาโรคสะเก็ดเงินได้อย่างไร Click

- การใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคภูมิแพ้และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองอื่นๆ Click



Validate the code with the W3C Validate the code with the W3C Link Exchange